เมนู

เอตทัคคบาลี



วรรคที่ 1



ว่าด้วยภิกษุผู้มีตำแหน่งเลิศ 1 ท่าน



[146] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอัญญาโกณฑัญญะ เลิศกว่า
พวกภิกษุสาวกของเราผู้รู้ราตรีนาน.
พระสารีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษสาวกของเราผู้มีปัญญามาก.
พระมหาโมคคัลลานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีฤทธิ์.
พระมหากัสสป เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ทรงธุดงค์
และสรรเสริญคุณแห่งธุดงค์.
พระอนุรุทธะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีทิพยจักษุ.
พระภัตทิยกาฬิโคธาบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เกิด
ในตระกูลสูง.
พระลกุณฏกภัททิยะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีเสียง
ไพเราะ.
พระปิณโฑลภารทวาชะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้
บันลือสีหนาท.
พระปุณณมันตานีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็น
ธรรมกถึก.
พระมหากัจจานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้จำแนก
อรรถแห่งภาษิตโดยย่อให้พิสดาร.
จบวรรคที่ 1

เอตทัคควรรคที่ 4



1. วรรคที่ 1



อรรถกถาสูตรที่ 1



ในสูตรที่ 1 ของวรรคที่ 1 ในเอตทัคควรรค พึงทราบวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้.
บทว่า เอตทคฺคํ ตัดบทเป็น เอตํ อคฺคํ. ก็อัคคศัพท์นี้ ในบทว่า
เอตทคฺคํ นั้น ปรากฏในอรรถว่าเบื้องต้น ในประโยค มีอาทิว่า
ที่สุด. อัคคศัพท์ ปรากฏในอรรถว่าเบื้องต้น ในประโยค มีอาทิว่า
ดูก่อนนายประตูผู้สหาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราเปิดประตู สำหรับ
พวกนิครนถ์ชายหญิง. มาในอรรถว่า ปลาย ในประโยคมีอาทิว่า
บุคคลพึงเอาปลายนิ้วมือนั้นนั่นแล แตะต้องปลายนิ้วมือนั้น ปลายอ้อย
ปลายไม้ไผ่. มาในอรรถว่า ส่วน ในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตแบ่งส่วนเปรี้ยว ส่วนอร่อย หรือส่วนขม, ตาม
ส่วนแห่งวิหาร หรือตามส่วนแห่งบริเวณ. มาในอรรถว่า ประเสริฐ
สุด ในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย มีประมาณ
เท่าใด ไม่มีเท้าก็ตาม ฯลฯ พระตถาคตปรากฏว่าประเสริฐ ุ
กว่าสัตว์เหล่านั้น. ในที่นี้ อัคคศัพท์นี้ ย่อมใช้ได้ ทั้งในอรรถว่าปลาย
ทั้งในอรรถว่าประเสริฐสุด. จริงอยู่ พระเถระเหล่านั้น ชื่อว่าอัคคะ
เพราะเป็นที่สุดบ้าง เพราะประเสริฐสุดบ้าง ในตำแหน่งอันประเสริฐ
สุดของตน เพราะฉะนั้น อรรถในบทว่า เอตทคฺคํ นี้ มีดังนี้ว่า
นี้เป็นที่สุด นี้ประเสริฐสุด. แม้ในสูตรทั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน.